ประวัติวิทยาลัยฯ

ประวัติวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา

 




เริ่มเปิดสอน เมื่อพ.ศ.2477 โดยได้อาศัยอยู่ในบริเวณกองพันทหารช่าง  ตำบลหัวแหลม  อำเภอกรุงเก่า  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ซึ่งกระทรวงกลาโหมให้ชื่อว่า 'โรงเรียนประถมวิสามัญหญิงแผนกการช่าง' รับนักเรียนที่สำเร็จจากชั้นประถมปีที่ 4 จากอำเภอต่างๆ ทั้งในบำรุงและนอกบำรุง  สอนตามหลักสูตรวิสามัญหญิงแผนกช่าง ในปีแรกมีนักเรียน 45 คน ครู 2 คน โดยมี นางสอาด  พานิชย์วิทย์  เป็นครูใหญ่คนแรก  ในปี พ.ศ. 2482 นางบุกดา    ศรีสถิตย์  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้รั้งครูใหญ่ และในปีการศึกษานี้โรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า 'โรงเรียนการช่างสตรีพระนครศรีอยุธยา' โดยเปิดสอนหลักสูตรใหม่ และขึ้นอยู่กับกรมอาชีวศึกษา

        ในปีการศึกษา 2483 โรงเรียนได้ย้ายสถานที่ตั้ง  ถนนป่าโทน ตำบลหอรัตนไชย  อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  (ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน) เพราะที่เดิมกรมสรรพสามิตต้องการจัดตั้งโรงต้มกลั่นสุรา  กระทรวงการคลัง  โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังในขณะนั้นคือ คุณหลวงประดิษฐ์  มนูธรรม (นายปรีดี  พนมยงค์) ได้อนุมัติเงินรายได้ของกรมสรรพสามิต จัดสร้างอาคารเรียน 2 หลัง บ้านพักครู 3 หลัง บ้านพักภรรโรง 2 หลัง  โรงฝึกครัว 1 หลัง  โรงครัว 1 หลัง  ในเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 64.5 ตารางวา  พร้อมทั้งการได้รับการสนับสนุนจาก อาจาร์ยวิโรจน์   กมลพันธ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด  ทุกอย่างจึงอยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง

        ในปี พ.ศ. 2483 - 2491 เปิดสอนตามหลักสูตรการช่างขั้นต้น ปี 2493 ได้เปิดหลักสูตรการช่างขั้นสูง ปี พ.ศ. 2507 ได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากโครงการยูนิเซฟ ซึ่งมีหลักสูตรสอนวิชาชีพสำหรับสตรีและเป็นที่นิยมของประชาชนในการส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาอบรมวิชาการบ้านการเรือน เพื่อเป็นกุลสตรีต่อไป

         ในปีพ.ศ. 2516  โรงเรียนการช่างสตรีพระนครศรีอยุธยาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า    โดยได้รับการเปิดสอนหลายแผนกวิชา   และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2519 กรมอาชีวศึกษาได้มีคำสั่งให้รวมโรงเรียนการช่างสตรีพระนครศรีอยุธยา และโรงเรียนช่างต่อเรือพระนครศรีอยุธยายกฐานะเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา  วิทยาเขต 1,วิทยาเขต 2,วิทยาเขต 3 ตามลำดับ ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2522  กรมอาชีวศึกษาได้มีคำสั่งแยกวิทยาเขต 1 เป็นวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วิทยาเขต 2  เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา (คงเดิม)  วันที่ 1 สิงหาคม 2523 แยกวิทยาเขต 3  เป็นวิทยาลัยการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา

         ปัจจุบันวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา อยู่ในรูปแบบสถาบันการอาชีวศึกษา ในเขตภาคกลาง 3 ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ระบบการศึกษา มาตรา 20 การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ  สถานศึกษาของเอกชน  สถานประกอบการ  หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ทั้งนี้ให้เป็ยไปตามกฏหมายว่าด้วการอาชีวศึกษาและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง

          สถาบันการอาชีวศึกษา คือ สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน   ที่รวมกลุ่มกันในเขตพื้นที่บริการอาชีวศึกษา โดยมีสถานศึกษาที่เปิดสอนถึงระดับปริญญาหรือเทียบเท่าเป็นนิติบุคคลและสถานศึกษาที่สอนต่ำกว่าปริญญาและส่วนควบ