รุ่นของคอมพิวเตอร์ที่อยากได้

Type Socket : 2011
Chipset : Intel X79
CPU support : Supports 2nd Generation Intel(R) Core i7 processors in LGA2011 package.
Memory Type : 8 x DIMM DDR3 1066/1333/1600/1866*/2133*/2400* (OC) DRAM, 128GB Max
Storage : 4 x Serial ATAII connectors
6 x Serial ATAIII connectors
Integrated Graphics :
Lan : 10/100/1000 Mb/s
Audio : 8-channel audio Realtek(R) ALC898
Expansion Slots : 4 PCI Express gen3 x16 slots
PCI_E1 supports up to PCIE x16 speed
PCI_E5 supports up to PCIE x16 speed when PCI_E3 is empty, or supports x8 speed when PCI_E3 is occupied
PCI_E3 & PCI_E7 support up to PCIE x8 speed
3 PCI Express gen2 x16 slots
PCI_E2, PCU_E4 & PCI_E6 support up to PCIE x1 s
Back Panel I/O Ports : 1 x PS/2 Mouse/Keyboard port
1 x Clear CMOS button
1 x Coaxial SPDIF port
1 x Optical SPDIF port
1 x IEEE1394 port
2 x RJ45 LAN Jacks
6 x USB 2.0 ports
4 x USB 3.0 ports
1 x 6 in 1 audio jack
Warranty : 3 Y



Processor Number : i7-3930K
Number of Cores : 6
Number of Threads : 12
Clock Speed : 3.2 GHz
Bus Speed : DMI 5 GT/s
Bit Technology : 32 bit , 64 bit
L2 Cache :
L3 Cache : Intel Smart Cache 12 MB
Type Socket : 2011
Other :
Warranty : 3 Y

3 ซีพียูสุดเดิร์น วัดใจซีพียูรุ่นไหนแรงสะใจ และน่าใช้ที่สุด
 
 
         


          นอกจากต้นไม้จะมีการผลัดใบและผลิใบไปตามฤดูกาลต่างๆ ในแต่ละปีแล้ว เทคโนโลยีทางด้านไอทีก็มีการผลิใบใหม่ของเทคโนโลยีต่างๆ ด้วยเช่นเดียวกัน และสำหรับปี 2012 หรือ พศ.2555 ที่กำลังจะมาถึงนี้ เทคโนโลยีการประมวลผลของซีพียูก็กำลังถึงการผลัดใบอีกครั้ง โดยที่การผลัดใบครั้งแรกเพื่อเตรียมรอต้อนรับช่วงเวลาของปีใหม่ก็เริ่มจากการเปิดตัวซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่ของเอเอ็มดีกับซีพียูสถาปัตยกรรม Bulldozer ตามาด้วยการเปิดตัววซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่ของอินเทลอย่าง Sandy Bridge-E ที่ต่อยอดการพัมนาต่อมาจากสถาปัตยกรรม Sandy Bridge เดิมให้เจ๋งขึ้นกว่าที่เคยเป็นอีกมากมาย
          ส่วนทางฝั่งเอเอ็มดีเองก็มีการผลัดใบเทคดนโลยีซีพียูด้วยเช่นเดียวกัน โดยมาพร้อมกับสถาปัตยกรรมซีพียูใหม่แบบถอดด้ามที่มีชื่อว่า Bulldozer Microarchitecture พร้อมด้วยการเปิดตัวซีพียู 8 คอร์ สำหรับพีซีแบบเดสก์ท็อปรุ่นแรกของโลก ซึ่งรายละเอียดจะเป็นเช่นใดบ้างนั้น เชิญติดตามได้เลยครับ

จาก Sandy Bridge ก้าวสู่ Sandy Bridge-E


          หลังจากที่อินเทลได้เปิดตัวซีพียูสถาปัตยกรรม Sandy bridge CoreMicroarchitecture ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ตามจังหวะ Tock ซึ่่งเป็นจังหวะการพัฒนาสถาปัตยกรรมใหม่จากโมเดลการพัฒนาเทคโนโลยีซีพียูในแบบ Tick-Tock ของอินเทล (ส่วนจังหวะ Tick จะเป็นการพัฒนาในส่วนของเทคโนโลยีการผลิตขนาดทรานซิสเตอร์ในตัวซีพียูที่มีขนาดเล็กลง) โดยมีซีพียูในรุ่น Core i7-2600K ซึ่งเป็นซีพียูแบบ 4 คอร์ 8 เธรด ให้เป็นซีพียูรุ่นท็อปที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานที่ความเร็ว 3.4 กิกะเฮิร์ตซ และมีหน่วยความจำแคชระดับที่ 3 ขนาด 8 เมกะไบต์ ซึ่งก็ให้ประสิทธิภาพการทำงานได้เป็นอย่างดี ด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมการทำงานใหม่ที่รวมคอร์ของระบบกราฟิกไว้ทำงานร่วมกับคอร์ประมวลผลที่ใช้ระบบบัสร่วมกัน ซึ่งกให้ประสิทธิภาพการทำงานทางด้านกราฟิกที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าซีพียูรหัสพัฒนา Nehalem CoreMicroarchitecture ซึ่งแม้ว่าจะนำระบบคอร์กราฟิกใส่ไว้ในตัวซีพียูด้วยก็จริง แต่วงจรการทำงานของคอร์กราฟิกก็ไม่ได้ใช้งานระบบบัสร่วมกับตัวคอร์ประมวลผลของซีพียูแต่อย่างใด


          แม้ว่าในเร็วๆ นี้ ทางอินเทลจะมีการเปิดตัวซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 22 นาโนเมตรออกมา โดยมีชื่อของซีพียูสถาปัตยกรรมนี้ว่า Ivy Bridge CoreMicroarchitecture ที่น่าจะเปิดตัวในช่วงปลายเดือนธันวาคมของทุกปีตามแผนการหลักของอินเทลที่ดำเนินการในรูปแบบนี้มาหลายปี แต่อินเทลก็ทิ้งทวนในส่วนของการเปิดตัวซีพียูรุ่นในตระกูล Sandy Bridge รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่า Core i7 2600-K รวมถึงจำนวนคอร์ประมวลผลที่มีมากกว่า และตั้งชื่อสถาปัตยกรรมให้กับซีพียู Sandty Bridge รุ่นใหม่นี้ว่า Sandy Bridge-E ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดถึงในส่วนของรายละเอียด และผลทดสอบของซีพียูในตระกูล Sandy Bridge-E ในรุ่น Core i7-3960X Extreme Edition และ Core i7-3930K กันครับ โดยทีมงานได้นำข้อมูลทุกอย่างรวมถึงผลทดสอบมาเรียบเรียงให้คุณผู้อ่านได้ชมกันจากเว็บไซต์ www.xbitlabs.comครับ (ในตอนนี้ต้องขอยอมรับว่ายังไม่สามารถนำอุปกรณ์ระดับไฮเอนด์มาทดสอบเองได้ แต่ในอนาคตจะมีบทความการทดสอบที่ทีมงานได้ทดสอบเองมาให้คุณผู้อ่านได้ชมกันแน่นอนครับ)

ซีพียู Sandy Bridge-E ต่างจากซีพียู Sandy Brdige อย่างไร

                    สำหรับในส่วนของความแตกต่างทางด้านสถาปัตยกรรมการประมวลผลทั้งในส่วนของคอร์ประมวลผลและคอร์กราฟิกภายในได (Die เป็นแผงวงจรอิล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในตัวซีพียู) นั้น Sandy Bridge และ Sandy bridge-E ไม่ได้มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด แต่จะมีความแตกต่างกันในส่วนไหนบ้างนั้น เรามาชมรายละเอียดทางเทคนิคต่างๆ จากภาพประกอบด้านล่างกันก่อนเลยครับ


          จากภาพประกอบด้านบน สิ่งที่ทางอินเทลได้พัฒนาขึ้นมาให้กับ Sandy Bridge-E ก็คือ การมีจำนวนคอร์ที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 6 คอร์ และสามารถประมวลผลได้พร้อมกัน 12 เธรด หรือ 12 งาน พร้อมกันจากการใช้เทคโนโยี Hyper-Threading ในขณะที่ซีพียู Sandy Bridge จะมีจำนวนคอร์และจำนวนเธรดสูงสุดที่ 4 คอร์ 8 เธรด เท่านั้น ส่วนหน่วยความจำแคชระดับที่โดยรวมของ Sandy Bridge-E ก็จะอยู่ที่ 15 เมกะไบต์ ส่วน Sandy Bridge จะมีเพียงแค่ 8 เมกะไบต์ ดังนั้นจึงให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของ Sandy Bridge-E จึงสูงกว่า Sandy Bridge อยู่พอสมควร ส่วนทคโนโลยีการประมวลผลอื่นๆ ก็ไม่ได้แตกต่างกันแต่อย่างใด เพราะเป็นซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรมการประมวลผลเดียวกันนั่นเอง (รวมถึง Ivy Bridge ที่จะออกมาในช่วงปลายเดือนธันวาคม นี้ด้วย เพียงแต่ผลิตที่เทคโนโลยีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น ดังนั้นโดยหลักๆ แล้วความแตกต่างก็จะอยู่ที่จำนวนคอร์ จำนวนเธรด และขนาดของหน่วยความจำแคชระดับที่ 3 เป็นหลักมากกว่าครับ)


          จากตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติการทำงานด้านบน นอกจากจำนวนคอร์และจำนวนเธรด และหน่วยความจำแคชระดับที่ 3 ที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดแล้ว สิ่งที่อินเทลได้พัฒนาให้กับ Sandy Bridge ให้มีการทำงานที่ทันสมัยมากขึ้นกว่าเดิม หากดูในส่วนของซีพียูในรุ่น Core i7 3960X เทียบกับ Core i7-2700K ก็คือ การปรับปรุงให้หน่วยควบคุมการทำงานของหน่วยความจำ หรือ Memory Controller รองรับหน่วยความจำหลัก จากเดิมที่รองรับ DDR3 ความเร็ว 1,333 เมกะเฮิร์ตซ ก็ได้อัพเกรดให้ซีพียู andy Bridge-E รองรับหน่วยความจำ DDR3 1,600 เมกะเฮิร์ตซ ทำให้ไม่ต้องใช้งานหน่วยความจำ DDR3 ความเร็วรุ่นใหม่ในรูปแบบของการโอเวอร์คล็อกอีกต่อไป ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมสูงขึ้นตามไปด้วย และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ การรองรับการทำงานหน่วยความจำในรูปแบบ 4 Channel DDR3 1600 หรือจะเรียกว่า Quad Channel DDR3 1600 ก็ได้เช่นกัน โดยการทำงานของหน่วยความจำในรูปแบบนี้จะให้อัตราการถ่ายโอนข้อมูล หรือแบนด์วิดธ์ที่สูงมากกว่า Dual Channel DDR3 1333 ในซีพียูตระกูล Sandy Bridge ในทางทฤษฎีเป็นอย่างมากที่ 12.8 กิกะไบต์ต่อวินาที แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ นั้นจะดีแค่ไหนเราจะมากล่าวถึงในส่วนนี้อย่างละเอียดอีกครั้งครับ


หน้าตาของแผงวงจร หรือได ภายในตัวซีพียูของ sandy Bridge-E ที่มีจำนวน 6 คอร์ 12 เธรด และไม่มีคอร์กราฟิกอยู่ในตัวซีพียูเหมือนกับ Sandy Bridge แต่อย่างใด

          เนื่องจากการเพิ่มจำนวนคอร์ให้มากขึ้นกว่าเดิม ก็ส่งผลให้จำนวนทรานซิสเตอร์ในตัวซีพียูเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย และนำพามาซึ่งการใช้พลังงานที่สูงขึ้นกว่าเดิมด้วยเช่นกัน นั่นทำให้ซีพียู Sandy Bridge-E อย่าง Core i7-3960X มีการออกแบบในส่วนของการปล่อยค่าพลังงานความร้อน (TDP: Thermal Design Power) ที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า Core i7-2700K จาก 95 วัตต์ มาเป็น 130 วัตต์ เช่นเดียวกับซีพียูรุ่นพี่อย่าง Core i7 990X (ซึ่ง Sandy Bridge-E จะไม่มีการรวมคอร์กราฟิกไว้ในตัวไดของซีพียูเช่นเดียวกับ Core i7 990X) ซึ่งเป็นซีพียู 6 คอร์ 12 เธรด เท่ากัน
          อีกคุณสมบัติการทำงานหนึ่งที่ใหม่หมดจดในตัวซีพียู Sandy Bridge-E ก็คือ การรองรับบัส PCI Express (PCIe) เวอร์ชัน 3.0 ที่ให้แบนด์วิดธ์ที่ 8 Giga Transfer/second (GT/s) แต่ไม่ได้ผ่านการรองรับ จึงไม่สามารถประกาศอย่างเป็นทางการได้