มะละกอ

ประโยชน์ของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอสุก

        มะละกอ (Papaya) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้

         นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาพาอิน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้

ประโยชน์ของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอสุก

                
         มะละกอเป็นไม้ผลที่มีการปลูกกันมากมาเป็นเวลาช้านานจนหลายคนเข้าใจกันว่า เป็นพื้นเมืองดั้งเดิมของไทย เนื่องจากเป็นพืชที่มีประโยชน์มากจนอาจกล่าวได้ว่าแทบทุกส่วนของต้นมะละกอมี ประโยชน์แทบทั้งสิ้นและคนไทยรู้จักคุ้นเคยและนำมะละกอไปใช้ประโยชน์มากมาย หลายอย่างในชีวิตประจำวัน แต่บางคนอาจคิดไม่ถึงว่าสิ่งที่ตนเองรับประทานหรือใช้อยู่นั้นเป็นมะละกอ หรือมีมะละกอเป็นองค์ประกอบอยู่ ซึ่งประโยชน์ของมะละกอมีดังนี้คือ ผลดิบใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทำแกงส้มและส้มตำอาหารหลักของชาวอีสาน หรือจะนำมาปรุงเป็นอาหารคาวหวานต่างๆแทนพวกแตงก็ได้  และนอกจากจะใช้เป็นอาหารประจำวันแล้วผลดิบยังสามารถนำมาใช้ผลิตเป็น อุตสาหกรรมอาหารกระป๋องได้หลายชนิด เช่น ทำมะละกอดอง  ซึ่งจะดองทั้งผล ครึ่งผลหรือหั่นเป็นชิ้นๆก็ได้ การดองมะละกอทั้งผลนั้นส่วนใหญ่เป็นการดองเพื่อเก็บไว้ใช้ในเวลาขาดแคลน โดยเฉพาะโรงงานผลิตซ๊อสมะละกอเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตปลากระป๋อง ส่วนการดองที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ มักจะใช้ผสมกับผักดองอื่นๆบรรจุกระป๋อง เช่นพวกผักกระป๋องดองเป็นต้น นอกจากนี้มะละกอดิบสามารถนำมาผลิตเป็นมะละกอเชื่อม ผลิตเป็นอาหารว่างโดยผสมกับมะม่วง เช่น มะม่วงแช่อิ่ม เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอสุก
            ผลมะละกอสุกเป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวานเย็นอร่อยและมีคุณค่าทางอาหารสูงประกอบ ด้วยน้ำาร้อยละ 88 น้ำตาลร้อยละ 10 โปรตีนร้อยละ 0.5 ไขมันร้อยละ 0.1 กรดร้อยละ 0.1 กากร้อยละ 0.6 และเยื่อใยร้อยละ 0.7 นอกจากนี้เนื้อมะละกอสุกยังมีวิตามิน เกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูงมาก กล่าวคือ ในมะละกอจำนวน100 กรัมจะมีวิตามินเอ ถึงประมาณ 2,000 –3,000 หน่วยสากล มีไทอามีน 15 – 64ไมโครกรัม ไรโบฟลาวิน 28 – 83 ไมโครกรัม ไทอะซิน 0.15 – 0.76  ไมโครกรัมและกรดแอสคอบิค 33. – 136 มิลลิกรัมผลมะละกอสุกมีคุณสมบัติเป็นยาระบายแก้การท้องผูกได้ดี โดยส่วนมากจะใช้รับประทานแบบผลไม้สุก เป็นอาหารเช้า ของว่างหรือเป็นส่วนผสมในสลัดผลไม้ หรืออาจนำมาแปรรูปปรุงรสให้มีรสชาติดียิ่งขึ้น เช่นเป็นเครื่องดื่ม  เครื่องปรุงไอสครีมทำมะละกอเชื่อม ในปัจจุบันได้มีการนำเอามะละกอสุกมาใช้เป็นวัตถุดิบแทนในการผลิตอาหารมาก โดยเฉพาะการใช้ทดแทนมะเขือเทศเช่น ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตซ๊อสมะเขือเทศ ซ๊อสพริก น้ำมะเขือเทศเป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากมะละกอมีราคาถูกตลอดจนมีรส สี กลิ่นและแร่ธาตุต่างๆไม่ได้แตกต่างไปจากมะเขือเทศเท่าใดนัก จึงทำให้ผู้ผลิตนิยมมาก นอกจากนี้มะละกอสุกยังสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมการผลิตสลัดผล ไม้กระป๋อง น้ำแยมและมะละกอผงได้ดีอีกด้วย

             นอกจากผลมะละกอแล้วยางมะละกอซึ่งมีสารอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า "ปาเปน" มีคุณสมบัติในการช่วยย่อยโปรตีนได้สูง คล้ายคลึงกับเอมไซม์เป็ปซินสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้หลาย อย่างเช่น อุตสาหกรรมการผลิตเบียร์และเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเนื้อหรือปลากระป๋อง โดยนำไปทำเป็นผงเปื่อยทำให้เนื้อเปื่อย อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ เช่น เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ยาใส่แผลฆ่าเชื้อต่างๆ ใช้แช่หนังสัตว์ในอุตสาหกรรมการฟอกหนังและขนสัตว์มีความต้านทานต่อการหดตัว ใช้แยกออกจากไหมแท้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสากรรม การทำสบู่ ยาสีฬัน เครื่องสำอาง กระดาษและอุตสาหกรรมหมากฝรั่งส่วนเปลือกมะละกอสามานำมาใช้เป็นผลพลอยได้ โดยใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น เป็นสีส่วนผสมของอาหารเป็นต้น นอกจากนั้นใบอ่อนยังรับประทานเป็นผักได้ เมล็ดใช้ทำยาบีบมดลูกยาแก้อาการละคายเคืองหรือยาถ่ายพยาธิ ยอดหรือลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ รากและก้านใบก็ยังสามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาถ่ายพยาธิ หรือใช้ซักผ้าแทนสบู่หรือผงซักฟอกได้อีกด้วย

              แต่โดยทั่วไปแล้ววัตถุประสงค์ใหญ่ๆ ชาวสวนจะปลูกมะละกอเพื่อเก็บผลไปใช้ประโยชน์ในการบริโภคเป็นอาหารและวัตถุ ดิบในการอุตสาหกรรมต่างๆ ดังกล่าวอาจมีชาวสวนบางรายที่ปลูกมะละกอเพื่อรีดเอาน้ำยางแต่ไม่มากนัก ส่วนประโยชน์อย่างอื่นดังที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น   

 

 

ถิ่นกำเนิด

      ถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง และเข้ามาในเอเชียปลายศตวรรษที่ 10 ในฟิลิปปินส์ และส่วนอื่นของภูมิภาค ในประเทศไทยแต่ละภาคจะเรียกขานนามของมะละกอแตกต่างกัน เช่น มะก้วยเทศ ลอกอ ละกอ ฝักหุ่ง หมักหุ่ง ถึงแม้มะละกอจะถูกเรียกขานด้วยนามที่ต่างกัน แต่ความนิยมในการบริโภคมะละกอในแต่ละภูมิภาคนั้นไม่แตกต่างกันเลย

              เราสามารถรับประทานมะละกอเป็นผักผลไม้ก็ได้ มีกินตลอดทั้งปี ปลูกง่ายโดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วนซุย อุดมสมบูรณ์ น้ำไมขัง ต้องการแสงแดดจัด หลายบ้านนิยมปลูกไว้เป็นผักสวนครัวเพื่อทานเองหรือปลูกเพื่อขายสร้างรายได้ เสริมให้กับครอบครัว

           มะละกอดิบและมะละกอห่าม มีรสชาติจืด นำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น แกงส้ม ผัดไข่ แกงเหลือง แกงอ่อม ต้มจิ้มน้ำพริก และที่ลืมนึกถึงไม่ได้เลยคือ ส้มตำ อาหารรสแซบเมนูยอดฮิตของคนไทย หรือนำมาแช่อิ่มเป็นของหวานก็เข้าที ผลสุกมีรสหวานกลิ่นหอมให้คุณค่าทางโภชนาการสูง มะละกอดิบมีวิตามินซี เอนไซม์ ปาเปอิน และไคโมปาเปน ที่สามารถย่อยโปรตีนในเนื้อสัตว์ได้ หากต้องต้มเนื้อให้เปื่อยเร็วก็ให้ใส่ยางมะละกอลงไปเนื้อก็จะเปื่อยเร็วทัน ใจ

 

            มะละกอสุกมีสีเหลืองส้มปนแดง มีวิตามินเอบำรุงสายตา มีวิตามินซีรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน มีธาตุเหล็กบำรุงเลือดมีแคลเซียมบำรุงกระดูก และมีฟอสฟอรัสสูงที่สำคัญมะละกอยังอุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยต้าน มะเร็ง มีเส้นใยอาหรช่วยระบบการขับถ่าย และมีสารเพคตินที่เคลือบกระเพาะอาหารได้อีกด้ว

        ใบมะละกอสดมีสรรพคุณทางยา แก้อาการปวดบวมได้ โดยนำมาย่างไปหรือลวกกับน้ำร้อนประคบในขณะอุ่นตรงบริเวณที่ปวด ใบต้มกินเพื่อขับปัสสาวะ เมล็ดต้มกินเพื่อขับพยาธิ ขับประจำเดือน ยางมะละกอแก่พิษตะขาบกัดแมลงสัตว์กัดต่อย

       นอกจากการใช้เป็นยาแล้วมะละกอยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีก เช่น ใช้ลำต้นและก้านของมะละกอ ต้มรวมกับสบู่เพื่อการขจัดคราบเปื้อนของผ้า และมะละกอสุกนำมาบดและพอกหน้าเพื่อทำให้ผิวสดใสและชุ่มชื้นได้

  จะไม่แปลก หากมะละกอจะเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมไปทั่วทุกภาค เพราะนอกจากจะมีรสชาติถูกปากคนไทยแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยาอีกด้วย