การเลือกซื้อ Flashdrive


การเลือกซื้อ Flashdrive      

ตัวบอดี้ และการออกแบบในส่วนต่างๆ
ใครจะว่าการออกแบบไดรฟ์ประเภทนี้ไม่สำคัญ ขอเถียงสุดเลยค่ะ เพราะว่าไดรฟ์พวกนี้ต้องนำไปพกพา และยังต้องเชื่อมต่อเข้ากับพอร์ต USB อีกด้วย ต้องให้ความสำคัญกันมากๆ หน่อย เพราะมีคนซื้อมาแล้ว ไม่สามารถเสียบเข้ากับ USB พอร์ตได้ เพราะตัวไดรฟ์มันอ้วน ดันไปติดกับสายเมาส์ และสายคีย์บอร์ด ดังนั้นการพิจารณาในเรื่องของการออกแบบนี้โดยต้องดูกันตั้งแต่วัสดุที่ใช้กันเลยครับ ส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติกนั่นแหละ บางยี่ห้อก็ดีหน่อยบีบๆ แล้วรู้สึกแข็งดี บางยี่ห้อบีบแล้วมันงอๆ ได้ แต่ก็ราคาถูกกว่า นอกจากนี้ตรงอินเทอร์เฟส (หัวเชื่อมต่อ)ของไดรฟ์มีวัสดุที่ปิดเอาไว้หรือไม่ บางยี่ห้อก็มีให้เป็นพลาสติกใสๆ บางยี่ห้อก็จะเป็นสีเดียวกับตัวไดรฟ์เลย ควรดูด้วยค่ะว่า ปิดแน่นสนิท หรือว่าหลุดง่ายหรือไม่ ฝาปิดตรงนี้ค่อนข้างสำคัญค่ะ เพราะถ้าคุณสังเกตให้ดีตรงหัวสำหรับเชื่อมต่อ มันจะมีร่องอยู่ด้านในด้วย ถ้าอะไรหลุดเข้าไปติดคงสร้างความเสียหายให้กับไดรฟ์ได้ไม่น้อย เผลอๆ จะลามไปถึงเจ้าพีซี หรือโน้ตบุ๊กที่คุณใช้อยู่ด้วย ซึ่งมีหลายๆ ยี่ห้อ เขาก็ออกแบบฝาปิดแบบ ให้หายได้ยากหน่อย คือ มีจุดเชื่อมกับตัวไดรฟ์เอาไว้เลย ป้องกันการหายได้ ส่วนต่อไปเป็นเรื่องของขนาดของไดรฟ์ครับ ขนาดของไดรฟ์มีผลต่อการพกพาเป็นอย่างมาก เพราะยิ่งใหญ่ ยิ่งหนัก ยิ่งเกะกะ ไดรฟ์บางรุ่นที่มีความสามารถหลายๆ อย่างจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำให้เวลาเราเอาไปเสียบกับพอร์ต USB มันจะเสียบเข้าไปลำบาก และบางครั้งก็เสียบไม่ได้เลยก็มี ดังนั้นผู้ผลิตเขาก็ได้ให้สายสำหรับเชื่อมต่อมาให้เพิ่มเติม เวลาใช้งานก็นำสายสำหรับเชื่อมต่อมาเสียบเข้ากับพอร์ต USB ก่อน แล้วเอาเจ้าไดรฟ์มาเสียบกับสายนี้อีกที ก็สะดวกในระดับหนึ่ง แต่นึกถึงว่า เวลาเราต้องไปไหนมาไหนบ่อยๆ แล้วต้องมาพกสายอีก คงไม่สะดวกนัก ถ้าคุณจัดอยู่ในประเภทผู้ใช้ที่ต้องพกพาไปใช้ที่อื่นบ่อยๆ หลีกเลี่ยงไดรฟ์ที่มีขนาดใหญ่ๆ เอาไว้เป็นดีที่สุดค่ะ นอกจากนี้การออกแบบไดรฟ์ ยังได้เพิ่มความสามารถในการนำมาห้อยคอไว้ด้วย ซึ่งจะมีช่องสำหรับร้อยสายห้อยคอมาให้ ไดรฟ์บางรุ่นที่สามารถเล่นเพลง MP3 ได้ด้วย อาจจะทำสายห้อยคอให้เป็นหูฟังไปในตัวด้วยเลย ส่วนนี้ต้องลองไปดูของจริงที่ร้านค้าค่ะ  (เคยเห็นเด็กนักเรียนเอาเจ้า  flashdrive มาห้อยคอ แอบถามว่าทำไมถึงนำมาห้อยคอ นักเรียนตอบว่า ผมนับถือ Flshdrive ครับ ^.< ดูตอบ น่าตืบ )

ขนาดความจุเท่าไหร่ดี?
ก็ตอบแทนไม่ได้เหมือนกัน การพิจารณาก็ให้คำนึงถึงความต้องการใช้งานของคุณนั่นแหละค่ะว่า จะเอาไปใส่อะไรบ้าง ถ้าเป็นคนชอบฟังเพลง ดาวน์โหลดเพลงเอ็มพีสาม จากอินเทอร์เน็ตมาฟังเป็นประจำ คงต้องเลือกความจุ 1,024 เมกะไบต์ ขึ้นไปค่ะ ถึงจะเพียงพอค่ะ อีกอย่างหนึ่งเวลาไปซื้อ แนะนำให้พิจารณาเรื่องขนาดความจุกับราคาด้วย เพราะบางครั้งการที่เราเพิ่มเงินอีกเพียง ไม่กี่ร้อยบาท แต่ได้ความจุเพิ่มมาเท่าตัว มันคุ้มค่ากว่านะคะ

USB 1.1 หรือ USB 2.0
การเชื่อมต่อแบบ USB ณ วันนี้จะแบ่งออกเป็น 2 เวอร์ชัน ซึ่งผู้ใช้หลายๆ ท่านมักจะมองข้ามไปเสมอบางท่านก็ไม่ได้สนใจเลยว่ามันจะคืออะไร แต่อยากจะบอกดังๆ ว่า มันต่างกันมากมายเลย การเชื่อมต่อผ่าน USB 1.1 จะทำได้ที่ความเร็ว 12 เมกะบิตต่อวินาที ส่วน USB 2.0 ทำความเร็วได้มากถึง 480 เมกะบิตต่อวินาที คำนวณออกมาแล้ว USB 2.0 จะเร็วกว่าถึง 40 เท่า เห็นมั้ยว่าเร็วกว่าถึง 40 เท่า ในการพิจารณาในส่วนนีคงไม่แนะนำให้ซื้อไดรฟ์ที่เชื่อมต่อแบบ USB 2.0 มาใช้ทุกความจุ เพราะถ้าเป็นรุ่นที่มีความจุไม่มากนัก อย่าง 128 เมกะไบต์ ก็เลือกรุ่นที่เป็น USB 1.1 ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าความจุสูงกว่านี้ให้เลือก USB 2.0 เข้าไว้ เพราะยิ่งจุมาก เวลาโอนถ่ายไฟล์ใหญ่จำนวนมากๆ ก็กินเวลามากเช่นกัน แต่ถ้าคุณเป็นคนชอบอะไรเร็วๆ ก็เลือก USB 2.0 เอาไว้ก็แล้วกัน

ความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูล

คงมีผู้ใช้ไม่กี่รายที่พิจารณาถึงส่วนนี้ และโดยทั่วๆ ไปแล้วก็ไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้กันเลย ซึ่งเป็นจุดที่กำหนดความเร็วในการทำงานของไดรฟ์ด้วย สำหรับความเร็วในส่วนนี้ มักจะแจ้งให้ในสเปกของไดรฟ์ ทั่วๆ ไปแล้ว ไดรฟ์รุ่นใหม่ๆ จะสามารถเขียนได้ที่ความเร็ว ประมาณ 5500 กิโลไบต์ต่อวินาที และอ่านได้ที่ความเร็วประมาณ 6000 กิโลไบต์ต่อวินาที ความเร็วก็อาจจะแตกต่างกันไปในบางรุ่น ซึ่งอาจจะมีผลต่อ ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลไม่มากนัก แต่ถ้าเสียเงินแล้วได้ไดรฟ์ที่เร็วๆ มันก็ดีกว่าจริงไหมคะ

ไดรเวอร์ และระบบปฏิบัติการที่รองรับ
ความสะดวกของไดรฟ์ประเภทนี้ก็คือ เสียบกับพอร์ต USB แล้วสามารถใช้งานได้เลย ไม่ต้องมาติดตั้งไดรเวอร์ให้เสียเวลา ซึ่งระบบปฏิบัติการที่รองรับกับแฟลชไดรฟ์แบบเสียบแล้วใช้งานได้เลยมีอยู่หลายๆ ตัวด้วยกันครับ เช่น Windows ME/2000/XP, Mac. OS 8.6 , Linux Kernel 2.4.0 เป็นต้น ส่วนคนที่ใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าๆ อย่าง Windows 98 , 98SE (ยังมีอยู่ป่าวเนี่ย) พวกนี้ต้องติดตั้งไดรเวอร์กันก่อน ใครใช้ระบบปฏิบัติการเก่าๆ อาจจะไม่สะดวกนัก แต่ก็ยังมีทางเลือกถ้าหากอยากใช้แฟลชไดรฟ์ สำหรับไดรเวอร์ที่มีมาให้ก็มักจะแถมมากับตัวไดรฟ์ ปัจจุบันจะบันทึกใส่แผ่นซีดีแบบมินิดิสก์มาให้

ปุ่มป้องกันการเขียน
ขนาดมันก็จะเล็กๆ หน้าที่ของมันก็คือ ป้องกันการลบและใส่ข้อมูลลงไปในไดรฟ์ ปุ่มนี้สำคัญกับคนที่มักจะหลงลืมชอบลบนั่นลบนี้เป็นประจำ แต่อย่าลืมเลื่อนปุ่มไปในตำแหน่งป้องกันการเขียนก็แล้วกัน มิเช่นนั้น อะไรก็ช่วยคุณไม่ได้ สำหรับปุ่มนี้ เนื่องจากมันมีขนาดเล็ก อาจจะไม่ค่อยสะดวกต่อการใช้งานมากนัก และอาจจะเลื่อนค่อนข้างลำบาก แต่บางยี่ห้อเขาทำมาก็ค่อนข้างใช้ได้เลย ตำแหน่งมันพอเหมาะพอดี และเลื่อนไปมาได้สะดวก ยังไงลองไปเลื่อนดู แต่อย่าเลื่อนแรงหล่ะ มันหักง่าย (ว่าแต่ ปัจจุบันบางรุ่นก็ไม่มีเนอะ) 

ไฟแสดงสถานะการทำงาน
ไฟนี้จะคอยแสดงการทำงานของตัวไดรฟ์ให้ทราบ เช่น เมื่อเราเชื่อมต่อเข้ากับพีซีแล้วไฟแสดงสถานะจะติดสว่าง และถ้ามีการอ่าน-เขียนข้อมูลไฟแสดงสถานะก็จะกระพริบ แต่ละยี่ห้อก็จะใช้ไฟแสดงสถานะนี้สีต่างๆ กันไป โดยประโยชน์หลักๆ จากไฟตัวนี้ ทำให้เราทราบว่าไดรฟ์สามารถทำงานได้อย่างปกติทั้งการเชื่อมต่อการอ่าน-เขียน ถึงแม้ว่าเราจะถูกจากหน้าจอได้ แต่ถ้าดูที่ไดรฟ์ได้ด้วยก็จะดีกว่าค่ะ

ฟีเจอร์เสริมเพิ่มเติมอื่นๆ
สำหรับฟีเจอร์ที่ผู้ผลิตหลายรายใส่เพิ่มเติมเข้ามา ก็มีหลายๆ อย่างด้วยกัน อย่างเช่น ตัวไดรฟ์สามารถบูตเครื่องไดรฟ์ ระบบเข้ารหัสข้อมูล ระบบป้องกันข้อมูลด้วยรหัสผ่าน เป็นต้น ซึ่งความสามารถต่างๆ เหล่านี้ มีประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะแฟลชไดรฟ์ที่สามารถบูตเครื่องได้ เพราะบางครั้งระบบปฏิบัติการในเครื่องอาจจะมีปัญหา การที่บูตเครื่องได้ ก็ยังสามารถเข้าสู่ฮาร์ดดิสก์เพื่อดึงข้อมูลออกมาใช้งานได้ในกรณี ที่เร่งด่วนจำเป็นอย่างมาก สำหรับคนที่มีข้อมูลๆ สำคัญๆ การป้องกันด้วยรหัสผ่านอาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้นการเข้ารหัสข้อมูลจะเป็นทางเลือกที่ทางที่จะป้องกันข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด ยังไงฟีเจอร์ต่างๆ เหล่านี้ เขาใส่มากับตัวไดรฟ์อยู่แล้ว แถมบางรุ่นราคาก็ยังเท่ากับไดรฟ์ที่ไม่มีฟีเจอร์เหล่านี้

ซอฟต์แวร์ยูทิลีตี้
นอกจากไดรเวอร์ที่มีมาให้แล้ว ส่วนใหญ่จะมีซอฟต์แวร์มาให้ด้วย ซอฟต์แวร์ต่างๆ เหล่านี้ จะมาทำหน้าที่ในการจัดการไดรฟ์ให้ใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ เช่น การกำหนดรหัสผ่าน การกำหนการเข้ารหัสข้อมูล การฟอร์แมตไดรฟ์ การจัดการป้องกันไดรฟ์ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นไดรฟ์ที่มีความสามารถอื่นๆ ร่วมด้วย ก็อาจจะใส่ซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาจัดการความสามารถนั่นๆ เพิ่มเติมมาให้ เช่น โปรแกรมแปลงออดิโอซีดีเป็นไฟล์เอ็มพี สาม ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการเรื่องการ บันทึกเสียง เป็นต้น

การรับประกัน
การรับประกันทั่วๆ ไป อยู่ที่ 1 ปี พร้อมเงื่อนไขอีกมากมายค่ะ


ข้อมูลจาก http://student.nu.ac.th

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


KruBoW

สถานะ : ผู้ช่วยผู้ดูแลระบบ
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ