สกศ.คาดปี 69 คนไทยมีการศึกษาเฉลี่ย 13 ปี

สกศ.เผยผลวิจัยคาดคนไทยมีการศึกษาเฉลี่ย 13 ปี ในปี2569 ในขณะที่จำนวนผู้เรียนในระบบลดลง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.นงราม เศรษฐพานิช ที่ปรึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า ผลการวิจับเรื่อง “ ประมาณการจำนวนผู้เรียนของประเทศไทยในช่วงปี 2555 ถึง 2569 ” ของ สกศ.ว่า สกศ.ทำวิจัยเรื่องนี้ เพื่อหาตัวเลขล่วงหน้าว่า ในแต่ละปีตั้งแต่ 2551 ถึง 2569 จะมีจำนวนประชากรในวัยเรียนที่อยู่ในการศึกษาในระบบและประชากรที่ศึกษาอยู่กับการศึกษานอกระบบจำนวนเท่าใด เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลนี้ไปประกอบการจัดทำแผนจัดการศึกษา

โดยการคำนวณหาจำนวนผู้เรียนในแต่ละปีนี้ พิจารณาจากการคาดการณ์สถิติจำนวนประชากรปี 2548 ถึง 2565 ของม.มหิดล และอยู่บนสมมุติฐานว่า รัฐขยายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เด็กทุกคนที่อายครบ 6 ถึง 11 ปี ได้เข้าเรียนในการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี รวมทั้งขยายการจัดการศึกษานอกระบบ การจัดการศึกษาอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถบรรลุป้าหมายที่กำหนดไว้กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (2550-2554 ) ว่า คนไทยในวัย 15 ถึง 55 ปี จะต้องมีการศึกษาเฉลี่ย 8.63 ในปี 2550 , 8.95 ปี ในปี 51 , 9.29 ปี ในปี 52 , 9.64 ปี ในปี 53 และ 10 ปี ในปี 2554 จากปัจจุบัน ที่การศึกษาเฉลี่ยคนไทยอยู่ที่ 8.5

ดร.นงราม กล่าวต่อว่า จากการวิจัยพบว่า จำนวนผู้เรียนในระบบปี 2551 ถึง 2569 จะค่อย ๆ ลดจำนวนลง โดย ระดับอนุบาลจะต้องรับผู้เรียนประมาณ 2.58 ล้านคนในปี 2551 แต่เมื่อถึงปี 2555 ละลงเหลือ 2.2 ล้านคน และเหลือ 1.97 ล้านคนในปี 2569 , ระดับ ประถมศึกษา จะจะมีผู้เรียนประมาณ 5.48 ล้านคน ในปี 2551 และค่อย ๆลดลงเป็น 4.2 ล้านคนในปี 2569 ม.ต้น 2.86 ล้านคนในปี 2551 เพิ่มเป็น 2.9 ล้านคน ในปี 2552 - 2553 หลังจากนั้นทยอยลดลงจนเหลือ 2.22 ล้านคนในปี 2569

แต่ระดับ ม.ปลายสายสามัญนั้น จะมีผู้เรียน 1.16 ล้านคนในปี 2551 จะเพิ่มสูงสุด 1.45 ล้านคนในปี 2556 จากนั้นค่อยทยอยลดลงเหลือ 1.15 ล้านคนในปี 2569 ระดับอุดมศึกษา จะมีผู้เรียน 2.49 ล้านคน ในปี 51 จากนั้นทยอยเพิ่มขึ้น เป็น 2.81 ล้านคนในปี 4569 ส่วนการศึกษานอกระบบนั้น จาก 9.7 แสนคน ในปี 2551 เพิ่มเป็น 4 ล้านคนในปี 2553 หลังจากนั้น จะอยู่ราวปีละ 1 ล้านกว่า

“ จากการวิจัยประมาณการไว้ว่า ต้องรอถึงปี 2559 จึงจะทำให้เด็กอายุ 2 และ 3 ปี เข้าเรียนอนุบาลครบ 100 % แต่ในปี 2555 จะสามารถทำให้เด็กที่อายุครบ 6 ปีได้เข้าเรียน ป.1 ครบ 100% อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้ ดูความเป็นไปได้ต่าง ๆ และคาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2569 คนไทยจะมีการศึกษาเฉลี่ย 13 ปี ซึ่งมีแนวโน้มว่าเป็นจริงได้ แต่จะต้องพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ให้นักเรียนที่เข้าเรียนในแต่ละระดับการศึกษา เรียนจบ 100 % มิฉะนั้น จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ รวมทั้งต้องให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ร้อยละ 35 ในระดับอนุบาล ร้อยละ 23 ในระดับ ประถมศึกษา ร้อยละ 17 ในระดับ ม.ต้น ร้อยละ 15 ในระดับ ม.ปลายสายสามัญ และ ร้อยละ 42ในระดับม.ปลายสายอาชีพ “ ดร.นงราม กล่าว

ดร.นงราม กล่าวต่อว่า เพราะฉะนั้น รัฐจะต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษารูปแบบอื่นๆ เพื่อรองรับเด็กที่หลุดออกจากการศึกษาในระบบ เช่น โฮมสคูล การจัดการศึกษาโดยสถานประกอบการ องค์กรเอกชน ขณะเดียวกันก็ต้องเพื่มการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบด้วย เพราะต่อไป การศึกษานอกระบบจะต้องรองรับผู้เรียนประมาณปีละ 3 ล้านคน เพื่อช่วยให้คนไทยมีการศึกษาเฉลี่ยตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่ปัจจุบัน จำนวนผู้เรียนของ กศน.ยังอยู่หลักแสนคน

นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า หากใช้เป้าหมายปีการศึกษาเฉลี่ยเป็นตัวตั้งแล้ว จะต้องพยายามให้เด็กที่อายุครบเกณฑ์ได้เรียนทุกคนและต้องพยายามให้เด็กได้เรียนต่อสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วย ถึงจะส่งผลให้การศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็นไปตามเป้าหมายได้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ หากส่งเสริมให้คนเรียนต่อระดับสูงกันหมดแล้ว อาจจะเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานได้ ปัจจุบัน ประเทศไทยก็มีปัญหาขาดแคลนแรงงานอยู่ จะเห็นได้จากข่าวการลักลอบเข้ามาค้าแรงงานอย่างผิดกฎหมายของประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า มีให้เห็นกันเป็นประจำ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


hemwadee

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ