เคล็ดลับการจัดการความเครียด

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าความ เครียด กลัดกลุ้มใจ ไม่สบายใจมักเป็นบ่อเกิดของโรคอันเป็นผลมาจากการทำงานที่เชื่อมโยงกัน ระหว่างร่างกาย จิตใจ ที่ผ่านมามีการค้นพบความสัมพันธ์ของจิตใจ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายว่าทำงานสัมพันธ์กันตลอดเวลา คนที่มีความเครียดสูงจึงมักมีปัญหาในเรื่องของระบบการย่อย โรคกระเพาะอาหาร การทำงานของระบบคุ้มกันโรคแย่ลงทำให้ป่วยบ่อย

การดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลจากความเครียดจึงเป็นกลวิธีอันชาญฉลาดของผู้ที่ มีสติปัญญา รู้จักรักษาใจตนเองไม่ให้ทุกข์จนเกินไป เพราะเป็นกฎธรรมดาของโลกที่ว่า คนเราเกิดมาต้องพบปะเจอะเจอเรื่องที่ทำให้เราไม่สมหวัง มีการสูญเสีย ประสบความล้มเหลวบ้างหรือบางครั้งต้องพบกับมรสุมชีวิตที่ต้องใช้เวลาและความ พยายาม ความอดทน อดกลั้นที่จะเอาชนะอุปสรรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความเครียดทุกข์ใจกับเราทั้งสิ้น การจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกหรือความเครียดภายในจิตใจในขณะที่เรายังไม่ สามารถจัดการกับสถานการณ์ภายนอกได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็น

อาการที่แสดงให้เห็นว่าคุณเครียดแล้ว อาจปรากฏดังนี้
1) ผลต่อร่างกาย คือ การหายใจถี่ หายใจสั้น กล้ามเนื้อตึงเครียดทั้งบริเวณต้นคอ แขน ขา กล้ามเนื้อกระตุก ผุดลุกผุดนั่ง
2) ผลต่อจิตใจ คือ หงุดหงิด ขาดสมาธิ ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้แย่ลง แม้กระทั่งเรื่องง่ายๆ ที่เคยตัดสินใจได้ก็ทำไม่ได้
3) ผลต่อพฤติกรรม กินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือกินเพิ่มขึ้น ควบคุมอารมณ์โกรธไม่พอใจได้ลดลง ทำให้มีการแสดงออกถึงพฤติกรรมก้าวร้าว บางรายมีพฤติกรรมหันเหเข้าหาสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ สุรา เพิ่มมากขึ้นโดยไม่ค่อยรู้ตัวถึงความเครียดที่เกิดขึ้น จนกว่าอาการดังกล่าวจะมีผลเรื้อรังและเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของตน เอง เช่น นอนไม่หลับจนร่างกายทรุดโทรมหรืออาจมีปากเสียงมีเรื่องกระทบกระทั่งกับบุคคล รอบข้างบ่อยครั้งมากขึ้น จนเพื่อนๆ ออกปาก

การฝึกสังเกตและจัดการกับความเครียดด้วยตนเอง จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้บุคคลรอดพ้นจากผลร้ายที่เกิดจากความเครียด ซึ่งสิ่งผลต่อร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม เพราะนอกจากจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพของตนเองแล้ว ยังอาจสิ่งเปลี่ยนเงินทองและต้องเสียความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างไปด้วย

เคล็ดลับวิธีในการจัดการกับความเครียด ที่ท่านสามารถทำได้ด้วยตนเองและดำเนินอยู่ในชีวิตประจำวันแล้วได้แก่ การหางานอดิเรกที่ชื่นชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสืออ่านเล่น ดูหนัง ฟังเพลง การเล่นกีฬาชนิดต่างๆ เข้าวัด ฟังธรรม การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจกับเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัว ซึ่งไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง

ส่วนเคล็ดลับการผ่อนคลายความเครียดตามหลักจิตวิทยาได้แก่ การฝึกการหายใจ ด้วยการนั่งในท่าที่สบาย เอามือประสานไว้บริเวณท้องค่อยๆ หายใจเข้า ใช้มือสัมผัสบริเวณท้องขณะหายใจเข้าพร้อมๆ กับนับเลข 1 ถึง 4 เป็นจังหวะช้าๆ จนรู้สึกถึงท้องที่พองขึ้น กลั้นหายใจเอาไว้ชั่วครู นับ 1 ถึง 4 เป็นจังหวะช้าๆ เช่นเดียวกับเมื่อหายใจเข้าพยายามไล่ลมภายในออกให้หมด สังเกตว่าหน้าท้องแฟบลงจากนั้นให้ทำซ้ำอีก 4-5 ครั้ง โดยช่วงที่หายใจออกให้นานกว่าช่วงหายใจเร้าในช่วงแรกๆ ของการฝึกให้ฝึกเป็นประจำ เมื่อทำได้เคยชินแล้ว ท่านก็จะพบว่า การฝึกสังเกตหรือจับลงหายใจ ช่วยให้จิตใจสงบได้ส่วนผู้ที่มีปัญหาด้านการนอน อาจใช้การฝึกหายใจร่วมกับการฝึกสมาธิในช่วงก่อนนอน โดยอยู่กับการฝึกให้นานขึ้นจนจิตเกิดสมาธิก็จะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น หรือบางครั้งอาจประยุกต์ใช้ร่วมกับการจินตนาการด้วยการอยู่กับการหายใจ แล้วจินตนาการถึงสถานที่ที่มีฉากสวยงามหรือสถานที่ที่เราพอใจจากนั้น ก็จะช่วยให้ท่านผ่อนคลายความเครียดได้

โดย: สมศรี กิตติพงศ์พิศาล

แหล่งที่มา : กรมสุขภาพจิต http://www.dmh.go.th/1667/1667view.asp?id=3451

Content's Picture

Comment(s)


Vote this Content ?

Create by :


orawan_ked

Status : ผู้ใช้ทั่วไป
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ