เบื้องหลังพฤติกรรม

พฤติกรรมมนุษย์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ และมีการศึกษาค้นคว้ากันมาอย่างต่อเนื่องโดยนักวิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยา มนุษยวิทยา นักศาสนา

พฤติกรรมหมายถึงอะไร ทั่วๆ ไปคือลักษณะที่แสดงออก และเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เขาอยู่ พฤติกรรมมีทั้งที่ทำเป็นประจำที่เรียกว่านิสัย และไม่ประจำ ไม่ได้ทำซ้ำๆ กันจนติดเป็นนิสัย

พฤติกรรมมีความสำคัญต่อตัวเองและผู้อื่น มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จและความล้มเหลวของแต่ละคน ยิ่งไปกว่านั้นพฤติกรรมยังเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรง เห็นแก่ตัว หยาบคาย ส่อไปในทางทุจริต น่าสงสัยและไม่น่าไว้ใจ ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้นำความเสียหายมาสู่ตนเองและผู้อื่น ในทางตรงกันข้ามถ้าพฤติกรรมแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ อ่อนสุภาพ ถ่อมตน น่าไว้วางใจ เคารพกฏเกณฑ์ มีวินัย ฯลฯ พฤติกรรมดังกล่าวจะนำความสุขและความสำเร็จให้ทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย

บทสรุปสำคัญที่ได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์พอสรุปได้ว่า พฤติกรรมของเรามาจากอิทธิพล 3 แหล่งด้วยกันคือ

1. ทางพันธุกรรม ลักษณะนิสัยถ่ายทอดผ่านทางท่ายีนส์ ฉะนั้นเราไม่มีทางเลือกอย่างอื่น
2. ทางครอบครัว ลักษณะนิสัยถ่ายทอดโดยคำสอน แบบอย่างของพ่อแม่
3. ทางสภาพแวดล้อม อิทธิพลกระแสของสังคมมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมแต่ละคน

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ทฤษฎีดังกล่าวมีความจริงอยู่บ้างแต่เป็นทฤษฎีให้ความสำคัญกับ อิทธิพลภายนอก และ ทฤษฎีการยอมต่อความอ่อนแอภายใน มนุษย์ทุกคนจะต้องตระหนักว่า เขามีตัวตน มีนโนธรรม มีความสามารถวิเคราะห์ใคร่ครวญ ที่สำคัญเขามีทั้งสิทธิเสรีภาพในการเลือก ชีวิตมนุษย์ไม่จำเป็นต้องไหลไปตามกระแสสังคมหรือสัญชาติญาณ แต่เราเลือกได้ มนุษย์สามารถมีพฤติกรรมตามที่ตนเลือกไม่ใช่ตามที่อิทธิพลภายนอกหรืออารมณ์เลือกให้ มนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตนเองและผลที่จะตามมาทั้งโลกนี้และโลกหน้า

วันนี้คุณเลือกได้ว่าจะรักหรือเกลียด จะดีหรือร้าย จะให้หรือขโมย จะพูดจริงหรือพูดเท็จ จะเลือกเป็นคนมุทะลุหรือเป็นคนมีคัมภีรภาพ ถ้าจะให้พฤติกรรมที่ดีงามติดตามเราตลอดชีวิต เราจะต้องเรียนรู้การยำเกรงพระเจ้า รักพระเจ้าและรักเพื่อนบ้านด้วยสิ้นสุดจิตสุดใจและสุดกำลังความคิด

ชีวิตเป็นของคุณ คุณรับผิดชอบต่อผลแห่งพฤติกรรม จงเลือกแต่พฤติกรรมที่ดี ถ้าขาดกำลังและปัญญา พระเจ้าพระบิดาของเราพร้อมจะช่วยเสมอ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


arun

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ